ในปี ค.ศ. 1979 ได้มีการเริ่มพัฒนาระบบโทรศัพท์มือถือที่เป็นแบบเซลลูล่า หรือที่เรียกว่า โมบายโฟน มีการนำไปใช้งานครั้งแรกพร้อมกันที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นต่อมา โทรศัพท์มือถือก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว แพร่กระจายเข้าสู่ทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายล้านราย และมียอดการขยายตัวที่ต่อเนื่องตลอดเวลา
ระบบโทรศัพท์มือถือในยุคแรก (1G) เป็นระบบโทรศัพท์ที่ใช้สัญญาณวิทยุ ระบบการนำสัญญาณเสียงผ่านคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงมาก (VHF และ UHF) และระบบการรับส่งยังเป็นแบบอะนาล็อก พัฒนาการทางอะนาล็อกของโทรศัพท์มือถืออยู่ได้ไม่กี่ปีก็พัฒนาการเข้าสู่ยุคที่สอง (2G) ซึ่งเป็นยุคดิจิตอล และกำลังพัฒนาต่อเนื่องเข้าสู่ยุค 3G
กลุ่มที่พัฒนาโทรศัพท์มือถือแบบ wireless มีด้วยกันสามกลุ่มคือ กลุ่มอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น โดยใช้ย่านความถี่การเชื่อมโยงกับสถานีแม่ที่ความถี่ไมโครเวฟประมาณ 1-2 จิกะเฮิร์ทซ์ การใช้งานในรุ่นแรกหรือ 1G มีข้อจำกัดในเรื่องการขยายช่องสัญญาณให้รองรับผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนจากระบบอะนาล็อกมาเป็นดิจิตอล
ในยุคที่สอง (2G) การพัฒนาเน้นในเรื่องการแบ่งเวลาในช่องสัญญาณโดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า TDMA Time Division Multiple Access หรือ CDMA - Code Division Multiple Access เป็นการเรียกเข้าถึงช่องสัญญาณ โดยแบ่งช่องสัญญาณออกเป็นสล็อตของเวลาเล็ก ๆ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลผ่านช่องเล็ก ๆ ทางด้านเวลานี้ การใช้โทรศัพท์มือถือมีความจำเป็นและมีตลาดรองรับการใช้งานสูงมาก บริษัท โดโคโม ของญี่ปุ่น เพียงบริษัทเดียวมีลูกค้าโทรศัพท์มือถือถึง 30 ล้านเครื่อง และในปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้โทรศัพท์มือถือกว่าร้อยล้านเครื่อง และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกมากมายมหาศาล
เมื่อระบบโทรศัพท์มือถือในยุค 2G ใช้รหัสดิจิตอล การกำหนดเส้นทางและการหาเส้นทางเชื่อมกับสถานีฐานจึงทำได้ดี ระบบการโรมมิ่ง (Roaming) คือการนำเอาโทรศัพท์มือถือไปใช้ในเครือข่ายอื่น เช่น ในต่างประเทศจึงทำได้ และก่อให้เกิดระบบโทรศัพท์มือถือแบบ GSM - Gobal System for Mobilization หรือระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ได้ทั่วโลกเชื่อมโยงกันเป็นระบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น